http://www.bizinthai.com/

Lean Housework ระบบลีนฉบับแม่บ้าน

เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด

กรุณาใส่ข้อความ … Lean Housework              ระบบลีนฉบับแม่บ้าน

 
ระบบลีนเพื่อคุณแม่บ้าน (ทั้งในที่ทำงานและที่บ้าน) ได้ทำระบบลีนแบบง่ายๆ ตรงประเด็น ประเภท HOW TO ไม่มีทฤษฎีมากมาย (แต่จริงๆ ก็ประยุกต์มาจากทฤษฎีล่ะนะ)  ผู้เขียน เขียนจากประสบการณ์การประยุกต์ระบบลีนทำเองที่บ้านและที่ทำงาน ดังนั้น ทำจริงเห็นผลจริง เมื่อท่านอ่านแล้วจะนำใช้ท่านก็ควรประยุกต์ให้เหมาะกับตัวท่าน วิถีของท่านเอง ประสบการณ์ใครก็เป็นเงื่อนเวลา เงื่อนปัจจัยของคนๆ นั้น ไม่อาจเหมือนกันโดย 100 % ได้ ดังนั้นประยุกต์ให้เหมาะและจะเห็นผลที่ชัดเจน  ได้ประโยชน์อย่างเต็มกำลังที่ท่านสามารถทำได้
ระบบลีนนั้นเป็นปรัชญญา การทำงาน การบริหารงาน และแน่นอนว่าสามารถนำมาใช้กับการบริหารชีวิตประจำวันด้วย
อย่างไรล่ะ ... เราเริ่มไปด้วยกันที่ละวันดีไหม ... ดีนะ ผู้เขียนว่างั้นล่ะ แต่ก่อนอื่น คิดก่อนว่า เราจะทำระบบลีนในชีวิตเราทำไมหรือ มีประโยชน์อะไร .... งั้นมาว่ากันที่ประโยชน์ก่อน
ประโยชน์การทำระบบลีน
1.เปลี่ยนความคิดให้เป็นไปในทางเพิ่มคุณค่าแก่ชีวิตเราและคนรอบข้าง
2.เปลี่ยนพฤติกรรมเราให้ทำสิ่งที่เพิ่มคุณค่า มากกว่าการสร้างขยะ (7+1Waste)

 

3.ลดค่าใช้จ่าย ลดเวลาการทำกิจกรรม โดยไม่ลดคุณภาพชีวิตในทุกแง่มุม ตรงกันข้าม เมื่อเราลดค่าใช้จ่ายที่เราเสียไปกับขยะ และลดเวลาการทำกิจกรรมต่างๆลงได้ เราจะมีเวลาสำหรับทำกิจกรรมความสุขเพิ่มขึ้น ... อืม กิจกรรมความสุขมีอะไร .... อันนี้ก็แล้วแต่เลย จะวาดรูป ดูหนัง ออกกำลังกาย นอนสบายที่โซฟา เอาที่สบายใจของท่านเองเลย ... 

18 ม.ค. 2560 ตอนต่อกันค่ะ

ขยะ (Waste) คำนี้จะพูดถึงบ่อยๆ ดังนั้น มาขยายความคำนี้กันหน่อย
7 + 1 ของเสีย คืออะไร ... เอาแบบตามทฤษฎีก่อนนะ
1                - Defect                                  งานมีตำหนิ/ งานซ่อม
            - Over Production               การผลิตที่มากเกินคำสั่งซื้อ
            - Waiting Time                      การรอคอย
4          - Non-Utilization                 การใช้คน/สิ่งของ/วัตถุดิบ ไม่เต็มประสิทธิภาพ
            - Transportation                  การขนส่งที่มากเกินไป
            - Inventory                            ของคงคลังที่มากเกินไป
            - Movement                         การเคลื่อนไหวไม่จำเป็น
            - Extra Process                     กระบวนการงานที่ซ้ำซ้อน และ มากเกินไป
ถึงตรงนี้คงคิดว่า บ้าแล้ว ในหลายๆ ข้อดูไม่เห็นจะเกี่ยวกับแม่บ้านตรงไหน ... งั้นมาดูการประยุกต์หน่อยนะคะ
      1)  Defect คือ งานมีตำหนิ  งานที่ทำแล้วได้ผลไม่เป็นไปตามที่กำหนด ...
      เคยหุงข้าวสวยแล้วได้ข้าวแข็ง หรือข้าวแฉะมาแทนไหม
      เคยรับสมัครคนมาช่วยงาน แล้วได้พนักงานที่เป็นภาระงานเพิ่มไหม
      เคยต้องแก้รายงานรอบแล้วรอบเล่าหรือไม่ ... 
      ถ้าคำตอบคือ เคย ก็ถึงเวลาต้องทำรายการแล้วละว่า งานมีตำหนิของเราที่เคยทำมาในอดีตมีอะไรบ้าง ... 
      และหาวิธีการเพื่อป้องกันความผิดพลาด (poka-yoke)
 
วันที่ 1... เราเริ่มจากการสำรวจ เพื่อให้ได้รายละเอียด (information) ที่สามารถเก็บเป็นข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ (data) โดยขอให้เก็บเป็นตัวเลข ที่มาจากเครื่องมือวัดซัก 1 ชนิด อีกทั้งให้เก็บข้องมูลอย่างเป็นระบบ หรือใช้โปรแกรม excel ก็จะช่วยให้งานง่ายขึ้นมาก ... เช่น
แก้ปัญหาเรื่องการหุงข้าว ... เริ่มจากการตวงข้าวและน้ำ ในอัตราส่วนต่างๆ กัน ดังตารางง่ายๆ ดังนี้
วันที่
ปริมาณข้าว (ถ้วยตวง)
ปริมาณน้ำ(ถ้วยตวง)
ผลลัพธ์ข้าวสวยที่หุงเสร็จ
1
2
1.5
เม็ดสวย แข็งเล็กน้อย
2
2
2
เม็ดสวย ไม่แข็งไม่นุ่ม
3
2
2.5
เม็ดสวย ข้าวนุ่ม น่าทาน
4
2
3.0
เม็ดบานเล็กน้อย นุ่มมากเกือบแฉะ
 

ข้อสังเกต เราจะเปลี่ยนระดับน้ำเท่านั้น ระดับข้าวไม่เปลี่ยนเพราะเป็นปริมาณที่บ้านเราทานได้เพียงพอใน 1 วัน และประเภทข้าวที่ใช้ ข้าวเก่า ข้าวใหม่ ข้าวหอมมะลิ ข้าวสาวไห้ หรืออื่นๆ มีผลต่อปริมาณน้ำที่ใช้ ... แต่เนื่องจากแต่ละบ้าน จะเลือกข้าวทานเพียง 1 ชนิด และปริมาณข้าวที่ทานก็เท่าๆ กันในทุกวัน ดังนั้นก็มีเพียงระดับน้ำที่ต้องกำหนดที่ถูกใจให้ได้ ... ที่ถูกใจนี้ใช้เสียงส่วนใหญ่ของคนในบ้านตัดสิน ไม่มีถูกผิด เพราะความชอบไม่เหมือนกัน 


แก้ปัญหาเรื่องการรับพนักงานใหม่ แล้วได้ภาระงานเพิ่มมาแทน ... แสดงว่ากระบวนการรับและคัดกรองคน ยังไม่ตรงประเด็นมากพอ หรือ มีความเร่งรัดในการรับคนมากเกินไป ... เริ่มจากคำถาม
-           เกณฑ์การคัดเลือก ตรงประเด็น ตรงลักษณะ ที่ต้องการคนหรือไม่ (ถ้าใช้เกณฑ์ ที่ใช้กันทั่วๆ ไป ที่ทำๆ กันมา ก็บอกได้เลยว่าเกณฑ์นั้นไม่ตรง และ ไม่เพียงพอต่อการคัดกรองคน ... เพราะอะไร ... เพราะเราต้องการคนที่มีคุณสมบัติเฉพาะเจาะจงกับตำแหน่งและองค์กรของเรา ซึ่งแน่ๆ ว่าไม่มีองค์กรใดเหมือนกัน ดังนั้น เกณฑ์ของใครก็ต้องสร้างเพื่อองค์กรนั้นเอาเอง ลอกกันไม่ได้)
-           มีการให้น้ำหนักแต่ละเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ ... ถ้าคำตอบคือสำคัญเท่าๆ กันหมด ก็แสดงว่าเราคิดน้อยเกินไป ... ไปคิดใหม่ การเลือก ต้องมี  1. NEED (จำเป็นต้องมี  คือถ้าไม่มีไม่พิจารณา) และ  2. WANT (ต้องการ คือ ถ้ามีจะดี และความต้องการแต่ละข้อไม่ควรมีน้ำหนักเท่ากัน )
-           เราได้จัดกระบวนการเลือก อย่างเข้มข้นตามเกณฑ์ และ น้ำหนักที่กำหนด หรือไม่ ... หรือสักแต่ว่ารับให้ทันเวลาที่ต้องการ

ปัญหานี้จะแก้ได้ เมื่อ ทำให้ง่าย (ต้องไม่มักง่าย) ... แล้วทำอย่างไรให้ง่าย ... ทำโดยกำหนดเกณฑ์ให้ชัดเฉพาะเจาะจงสำหรับตำแหน่งที่ต้องการขององค์กรเราเท่านั้น และกำหนดน้ำหนักอย่างเหมาะสม  สุดท้ายทำการเลือกอย่างเข้มข้นตามที่กำหนด ... ไม่ได้ตามเกณฑ์ ไม่จ้าง ... รกคน ดีกว่ารกหญ้า  คำพูดนี้ดูจะใช้ไม่ได้ในกรณีนี้ เพราะรกหญ้าแค่ตัด รกคน  งานยากและยาว กว่าจะจัดการให้เหมาะสมได้
 
ตัวอย่างพอสังเขปสำหรับ ขยะตัวแรก ... และยังไม่จบสำหรับการสำรวจ เราควรจะทำการสำรวจและจดบันทึกให้ครบ ขยะทั้ง 7+1 จากนั้นไปต่อกัน
 
23 ม.ค. 2560
วันที่ 2 ... สร้างกระบวนการเก็บข้อมูล (DATA) หมายถึงข้อมูลที่สามารถนำวิเคราะห์ต่อได้ และข้อมูลที่วิเคราะห์ง่ายที่สุดคือตัวเลข ดังนั้น ข้อมูลใดไม่ใช่ตัวเลข หาทางทำให้เป็นตัวเลขนะคะ ... และขอให้เก็บในโปรแกรม เอ็กเซล เพราะใช้คำนวณได้ง่ายสุดๆแล้ว)  ตัวอย่างหากต้องการรู้ ว่ามีขยะตัวที่ 2 (Over Production) ในองค์กรเราหรือไม่ เราต้องเก็บข้อมูล  การผลิต/ การบริการ/ การซื้อของกักตุนเปรียบเทียบกับปริมาณการขาย/ปริมาณการใช้  เช่น 
 
1. กำลังการผลิตวันละ 100 ปริมาณการซื้อสินค้าวันละ 50 ถ้าเราผลิตเต็มกำลัง 100 เพราะสามารถผลิตได้ ก็คิดผิดมาก ไปคิดใหม่ จะทำของเกินไปขายใคร ถ้าจะหาตลาดเพิ่มไปหาให้ได้ก่อน ค่อยมาผลิตเพิ่ม เอากำลังที่เกินจากการผลิต ไปทำเรื่องสร้างสรรอื่นให้องค์กร อย่ามักง่าย ผลิตเพราะผลิตได้เท่านั้น
2. ความสามารถบริการลูกค้าได้ 10 คน ต่อชั่วโมง ถ้าในชั่วโมงนั้นมีลูกค้าเพียง 5 คน ก็ใช้ความสามารถบริการเท่าที่ลูกค้าต้องการ เกินกว่านั้นไปทำอย่างอื่น การรุม ให้บริการ ไม่ได้ทำให้ลูกค้ารู้สึกดี กลับทำให้รำคาญด้วยซ้ำ 
3. ปริมาณการใช้ของในบ้าน คำนวณให้ซื้อของเดือนละ 2-4 ครั้ง (ตามความสะดวกของแต่ละบ้าน) แต่ไม่กักตุนของแบบซื้อที่ใช้ไป 6 เดือน เรายังไม่มีสงคราม ไม่มีนำ้ท่วมใหญ่ จะกักตุนกันทำไม ยกเว้นว่า ติดตามข่าวแล้วมีแนวโน้มจะเกิดวิกฤติเราค่อยกักตุนสินค้า หาไม่แล้วไม่ต้องตุน ทำบ้านให้มีพอกินพอใช้ ใน 1 - 2 อาทิตย์ แล้วพื้นที่ที่เราเสียไปกับการเก็บของจะลดลงอย่างมาก ... พูดถึงตรงนี้คงต้องแตะเรื่องการเก็บของเผื่อใช้กันหน่อย เช่นเสื่อผ้าเผื่อผอม เก็บกันเป็นปีๆ ไม่ได้ใช้ น้ำหอมเผื่อโอกาสพิเศษเก็บจนน้ำหอมเสื่อม ยาเก็บไว้เผื่อป่วยซ้ำ ยามีอายุ เก็บกันเกินอายุหรือไม่ตรวจสอบด่วน  
4. การรับคนเผื่องานในอนาคต หากมีแผนการในอนาคตอันใกล้ที่จะต้องใช้คนเพิ่ม และต้องการนำคนเข้ามาเพื่อฝึก พัฒนาให้เหมาะกับองค์กรก่อน อันนั้นเป็นเรื่องดี เมื่อต้องการใช้ คนจะได้พร้อมทำงานให้ได้ดังเป้าหมาย แต่หาก รับเข้ามาเยอะๆ ไว้ก่อน (งบมันเหลือ) แล้วค่อยคิดว่าจะใช้เขาทำอะไร ... อันนี้ต้องบอกว่าเป็นความมักง่ายชนิด ซุปเปอร์ ... ถ้างบเหลือในการจ้างคน โยกงบไปใช้พัฒนาคน จะดีกว่า คนมีการพัฒนาได้ไม่มีขอบเขต ยิ่งพัฒนายิ่งได้คุณภาพเพิ่ม ยิ่งคุณภาพเพิ่ม องค์กรยิ่งเจริญ ดังนั้น จำนวนคนต้องเหมาะสมกับงาน แต่คุณภาพคนยิ่งมากยิ่งดี อย่ากลัวว่าคุณภาพสูงแล้วเค้าจะไปองค์กรอื่น เพราะถ้าองค์กรเราดีพอ เค้าจะไปทำไม ถ้าบอกที่ใหม่ให้เงินดีกว่า ก็แสดงว่าเราอ่านหนังสือน้อยมาก เพราะงานวิจัย ทุกสำนักบอกตรงกันว่า ปัจจัยเรื่อเงินเป็นเรื่องรองๆ ดังนั้น ถ้าองค์กรเราดี ทีม HR เราเจ๋งอย่าห่วงสมองไหลออก ห่วงว่าจะมีคนมาให้คัดสรรมากมายจะดีกว่า
 
ถึงตรงนี้คงพอเข้าใจคำว่า ทำเกิน (Over Production)ที่ประยุกต์ใช้กับคุณแม่บ้านแล้ว ดังนั้น ลองทำรายการ ว่าเรามีการ ทำเกิน ในองค์กรเราหรือไม่ ถ้ามี (และโดยส่วนใหญ่ก็มีกันเกือบทุกองค์กร) ก็ให้ค่อยๆ ลดทอนลง เช่น 
             ขั้นที่ 1 ลด 10 % 
             ขั้นที่ 2 ลด 20 %
             ขั้นที่ 3 ลด 30 %
             และสุดท้ายลดลง 50 % ณ ขั้นนี้ก็คือเราลดได้หมด 100 %   
                              คำถาม  ทำไมไม่ลดทีเดียวเลย จะทำเป็นขั้นทำไม ยุ่งยาก 
                              คำตอบ  เพราะการปรับเปลี่ยนการกระทำนั้น ไม่ง่าย ถ้าทำแบบรีบเร่ง จะไม่ได้ผล และอาจส่งผลเสียอื่นๆ ได้
 
วันที่ 3 สร้างกระบวนการวัดผล (Measurement)  ให้กำหนดกระบวนการวัดผล ที่เป็นตัวเลข ทั้งที่ใส่เข้าไป (Input) และ ที่ได้ผลลัพธ์ (Output) ... หมายความว่า เราต้องวัดปริมาณสิ่งที่ลงทุนลงแรงไปกับการกำจัดขยะ และ ผลลัพธ์ที่ได้จากการกำจัดขยะ ว่าได้ผลตอบกลับมาที่องค์กรของเรา ว่าคุ้มค่าลงทุนหรือไม่ คิดเหมือนการลงทุน เราต้องได้กำไรจากการกระทำ มิใช่ขาดทุน ดังนั้น เมื่อเราลองทำไปซักระยะ เราจะพบว่าบางอย่างคุ้มค่าน่าทำ บางอย่างไม่คุ้ม
 
ติดตามตอนต่อไปค่ะ
ติดตาม ข้อมูลดีๆ ต่อเนื่อง อื่นๆ ที่ www.bizinthai.com  หรือ Facebook/LeanBiz

ชื่อผู้ตอบ:


  • Leanคือ....ปรัชญญาการบริหารองค์กรใช้เพื่อ..ทำให้ประสิทธิภาพองค์กรพัฒนาดีขึ้นอย่างต่อเนื่องยั่งยืน ใช้เพื่อ..การบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพภายใต้เงื่อนไขเดียวคือลดต้นทุนโดยไม่ลดค...

  • P1
    บรรณานุกรมคู่มือการใช้เครื่องมือ Lean

  • 1
    มาเข้าใจรูปแบบการลดต้นทุน และเพิ่มกำไรให้ธุรกิจของคุณอย่างง่ายๆ <ภาพจากการอบรม "เทคนิคการบริหารเงินสด" จัดโดย สสว. บรรยายโดย อ.ธณ จันทร์อัมพร">

  • วันนี้มาดูกันว่า ตำราเค้าเขียนอะไรกันนะ?...กับ"ระบบ Lean" Lean คืออะไร Lean แปลว่า ผอม เพรียว บาง ถ้าเปรียบเทียบกับคนในความหมายเชิงบวก ก็หมายถึงคนที่มีร่างกายสมส่วน ปราศจากชั้นไ...

  • Lean Manufacturing – การผลิตแบบลีน ชื่อนี้เป็นที่แพร่หลายมากในปัจจุบัน และเป็นที่ยอมรับกันว่าระบบการผลิตแบบลีนนั้นมีสมรรถนะสูงมาก ทันกับความต้องการของอุตสาหกรรมในยุคสารสนเทศเป็นอย่...

  • คำว่า Lean เกิดขึ้นยุค ค.ศ.1980 เพื่อใช้อธิบายระบบการผลิตของโตโยต้า (Toyota Production System) ในขณะที่ทำการศึกษาเปรียบเทียบระบบการผลิตรถยนต์ในประเทศต่างๆ ของสถาบัน MIT (Massa...

  • ระบบลีน แบ่งเป็นขั้นตอน และ หัวข้อพร้อมรายละเอียดได้พอสังเขปดังนี้ 1. Step 1 : Lean Thinking :เรียนรู้แนวคิดแบบลีน เพื่อการปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด การพัฒนา และ ...

  • Lean is Philosophy for Organisation Management หมายความว่า.... "ลีนเป็นปรัชญาการบริหารองค์กร" แปลอีกทีคือ เมื่อเป็นปรัชญา ก็ย่อมตีควา...

  • ทำไม Lean จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายในองค์กรต่างๆอยากรู้? มาดูกัน 1. Lean is proven หลักการและเทคนิคของ Lean ได้รับการนำไปใช้และประสบความสำเร็จในองค์กรทุกภาคส่วน ทุกประเภท ทุกขนาด นั...

  • ความสูญเปล่า (Waste) ความสูญเปล่า คือ กิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าแก่ผู้รับผลงาน อาจจะเป็นสิ่งที่ถูกออกแบบไว้ในระบบโดยผู้ปฏิบัติงานไม่รู้ตัวว่าเป็นความสูญเปล่า หรืออาจ...
Visitors: 72,950
Icons made by Freepik from www.flaticon.com